วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558


Domain Name คืออะไร







                Domain Name (โดเมนเนม) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


✖ ✖ Sub Domain คืออะไร



              Sub Domain ( ซับโดเมน ) คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain (โดเมน) ชื่อ www.gict.co.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.gict.co.th แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ


✖ ✖ ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน

  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
  3. ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
  4. ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
  5. ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-Mail
  6. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ

✖ ✖  อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมน

  • ชื่อ Domain สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
  • ชื่อ Domain โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
  • ชื่อ Domain มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
  • ชื่อ Domain ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
  • ชื่อ Domain ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space

✖ ✖  หลัการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย

  1. ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
  2. ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
  3. ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ในประเทศ
  4. ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
  5. ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้


- อ่านออกเสียงได้ตรงกัน
- มีความหมายตรงกัน






✖ ✖ การจดทะเบียนโดเมนเนม

การจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ                                                                                                          การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .จดโดเมน .co.th, .or.th, .ac.th, in.th เช่นนามสกุล ".CO.TH" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน

    • โดเมน นามสกุล .OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
    • โดเมน นามสกุล .AC.TH เป็นเวบไซตืของสถานศุกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
    • โดเมน นามสกุล .IN.TH เป็นเวบไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
    • โดเมน นามสกุล .GO.TH เป็นเวบไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
    • โดเมน นามสกุล NET.TH เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

                
                    การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ มีกฏระเบียบมาก ต้องจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งประเภทตามที่เขาแบ่งไว้ จึงจดทะเบียนโดเมนเนม ได้ยากกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ปัจจุบันการจดทะเบียนโดเมนเนม ภายในประเทศ ยังถือว่ามีน้อยมาก เนื่องจากการจดทะเบียนโดเมนเนม มีข้อยุ่งยากดังที่กล่าวข้างต้น และมูลค่าของเว็บไซต์มักจะถูกมองว่ามีค่าน้อยกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ที่มีนามสกุลเป็น".COM" กับศูนย์จดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่มีความสามารถเหมือนกัน


  2. การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศ

  3. การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .COM .NET .ORG

    • โดเมน นามสกุล .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
    • โดเมน นามสกุล .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
    • โดเมน นามสกุล .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

    • ปัจจุบันได้เกิด โดเมน ชนิดอื่นขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเว็บไซต์ออกไป และขณะเดียวกันชื่อ โดเมน ก็เหลือน้อยลง ดังมีรายละเอียดดังนี้

    • โดเมน นามสกุล .cc เป็น โดเมน ที่คาดว่าน่าจะมีความนิยมทัดเทียมกับ .com ในเวลาอันใกล้นี้เนื่องจาก .com แทบจะไม่มีชื่อดีๆ เหลืออยู่แล้ว การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปได้
    • โดเมน นามสกุล .biz สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไป เป็น โดเมน น้องใหม่ พึงเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มธุรกิจที่เป็น ธุรกิจจริงๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักค่อนข้างเร็ว
    • โดเมน นามสกุล .info ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
    • โดเมน นามสกุล .ws เป็นชนิดของชื่อเว็บไซต์หนึ่งที่พยามยามสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุประเภทเว็บไซต์
    • โดเมน นามสกุล .tv เป็นเว็บไซต์ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมจากเว็บไซต์ประเภทสื่อพอสมควร

                  แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
                                                                                                                                                                                                               (ที่มา:http://domain-name.gict.co.th/)
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น